วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กวาวเครือ : สมุนไพรเพิ่มมูลค่าปลานิล


                  สมุนไพรกวาวเครือเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย สารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเป็นไฟโตเอสโตรเจน ชนิด miroestrol และ puerarin กวาวเครือขาวสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำได้ทุกส่วน คือ หัว ใบ และเถา
  
    การนำกวาวเครือขาวซึ่งมีสาร phytoestrogen ที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และการสร้างกล้ามเนื้อมาใช้ในอาหารสัตว์น้ำมุ่งเน้นในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพสัตว์น้ำ เช่น ในปลาสลิดการใช้กวาวเครือขาวเพื่อเพิ่มการสร้างไข่ของปลาเพศเมีย แต่ในปลานิลใช้กวาวเครือขาวเพื่อลดการสร้างไข่ และลดจำนวนลูกของปลา และมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์เนื้อ
    ในส่วนของหัว เถา และใบกวาวเครือขาวมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ระดับแตกต่างกันดังนี้ คือ ในหัวกวาวเครือขาวมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเท่ากับ 4000 พิโคกรัม/กรัม เถามีเอสโตรเจน 190000 พิโคกรัม/กรัม และในใบมีเอสโตรเจน 1700000 พิโคกรัม/กรัม
    การใช้กวาวเครือขาวในสูตรอาหารปลาสลิดระยะเล็กอายุมากกว่า 1 เดือน ที่ระดับ 0.0003% หรือ1-40 กรัม ปลาป่น 55 กก. น้ำมันปลา 6 กก. สารเหนียว 8 กก. รำละเอียด 19 กก. วีทกลูเต้นท์ 10 กก. วิตามิน 2 กก. ทำให้รังไข่ของปลาสลิดมีการพัฒนาดีขึ้น
    การใช้กวาวเครือขาวในอาหารสัตว์น้ำยังมีข้อจำกัดในเรื่องของสารพิษคือ butannin ทำให้เกิดอาการมึนเมา เซื่องซึม และมีผลต่อเนื้อเยื่อตับ ต่อมหมวกไต และ เซลล์เม็ดเลือดแดงในสัตว์เลือดอุ่น แต่ในปลาหรือสัตว์น้ำที่มีการใช้กวาวเครือขาวเป็นวัตถุดิบอาหาร ยังไม่มีผลรายงานถึงความเป็นพิษในตัวสัตว์น้ำ

ขั้นตอนในการผลิตอาหารปลาจากสมุนไพรกวาวเครือขาว
     จากผลการทดลองให้อาหารผสมกวาวเครือขาวปลานิลเป็นเวลา 90 วัน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของปลาที่ได้รับใบ เถา และหัว กวาวเครือขาวมีค่าไม่แตกต่างกัน ทั้งในปลาเพศผู้ และเพศเมีย แต่ในปลาเพศเมียมีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อส่วนบริโภคได้ มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าใกล้เคียงกับปลาเพศผู้ จำนวนลูกปลาในปลาที่เสริมกวาวเครือขาวมีค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในปลาเพศผู้พบว่ากวาวเครือขาวมีผลต่อการลดลงของขนาดอวัยวะสืบพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น